เมนู

อนุรุทธสังยุต



รโหคตวรรคที่ 1



1. ปฐมรโหคตสูตร



ว่าด้วยสติปัฏฐาน 4



[1253] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้;-
สมัยหนึ่ง. ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ
หลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกขึ้นในใจอย่างนี้ว่า สติปัฏฐาน 4
อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเบื่อแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเบื่ออริยมรรคที่จะให้ถึง
ความสิ้นทุกข์โดยชอบ สติปัฏฐาน 4 อัน ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว
ชนเหล่านั้นชื่อว่า ปรารภอริยมรรคที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
[1254] ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะรู้ความปริวิตกในใจ
ของท่านพระอนุรุทธะด้วยใจ จึงไปปรากฏในที่เฉพาะหน้าท่านอนุรุทธะ
เหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ครั้งนั้น
ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ดูก่อนท่านอนุรุทธะ
ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงจะชื่อว่า ปรารภสติปัฏฐาน 4.
[1255] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกายในภายในอยู่ พิจารณา
เห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในกายในภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ
ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในกายในภายในอยู่ มีสัมปชัญญะ มีสติ พึง

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความ
เกิดขึ้นในกายในภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในกาย
ในภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปใน
กายในภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกายทั้ง
ภายในและภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในกายภายใน
และภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปใน
กายทั้งภายในและภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้.
[1256] ภิกษุนั้น ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่า
ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูล
นั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูล
อยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า
ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่าปฎิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฎิกูลอยู่เถิด ก็ย่อม
เป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า
ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ปฎิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฎิกูลอยู่เถิด ก็
ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฎิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวัง
อยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้เว้นขาดสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้งสองนั้น แล้วมี
อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะใน
สิ่งทั้งสองนั้นอยู่.
[1257] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในเวทนา
ในภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในเวทนาในภายในอยู่
พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในเวทนาในภายในอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในเวทนาในภายนอกอยู่ พิจารณา
เห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในเวทนาในภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม
คือ ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปในเวทนาในภายนอกอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณา
เห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในเวทนาทั้งภายในและภายนอกอยู่ พิจารณา
เห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในเวทนาทั้งภายในและภายนอกอยู่ พิจารณา
เห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในเวทนาทั้งภายในและภายนอก
อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
เสียได้.
[1258] ภิกษุนั้นถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่า
ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูล
นั้นอยู่ ฯลฯ ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้เว้นขาดสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูล
ทั้งสองนั้น แล้วมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่.
[1259] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในจิตใน
ภายใน ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในจิต
ทั้งภายในและภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้.
[1260] ภิกษุนั้น ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่า
ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ฯลฯ ก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะใน
สิ่งทั้งสองนั้นอยู่.

[1261] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในธรรม
ทั้งหลายในภายใน ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อม
ไปในธรรมทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
[1262] ภิกษุนั้น ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่า
ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ฯลฯ ก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะใน
สิ่งทั้งสองนั้นอยู่ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่า
ปรารภสติปัฏฐาน 4. . . . .. 4 .
จบปฐมรโหคตสูตรที่ 1

อนุรุทธสังยุตตวรรณนา



รโหคตวรรคที่ 1



อรรถกถาปฐมรโหคตสูตร



อนุรุทธสังยุต ปฐมรโหคตสูตรที่ 1.

คำว่า อันปรารภแล้ว
คือ เต็มที่แล้ว. ก็แลในสูตรนี้ ว่าโดยย่อ ก็คือได้ทรงแสดงวิปัสสนาที่ให้ถึง
ความเป็นพระอรหันต์ใน 36 ฐานะ.
จบอรรถกถาปฐมรโหคตสูตรที่ 1